Search

เทคโนโลยีผ้าอ้อมสำเร็จรูปและการเก็บอาหารแบบสุญญากาศช่วยพัฒนาถุงใส่ศพแห่งอนาคตได้อย่างไร - บีบีซีไทย

sampahdiberitain.blogspot.com
  • สวามินาธาน นาทาราจัน
  • บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส

Protesters lay on the sidewalk in body bags near the United Nations in New York

"แนวคิดในการออกแบบถุงบรรจุศพไม่เคยมีการปรับปรุงมาเลยนับตั้งแต่ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาในปี 1968" น.ส.อันนุกา บาธิจา นักนิติมานุษยวิทยา (forensic anthropologist) กล่าว

ในฐานะนักนิติมานุษยวิทยา น.ส.บาธิจา ได้ทุ่มเทเวลาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไปกับการค้นหาวิธีจัดการกับศพมนุษย์ให้ดีขึ้น

เธอเป็นหนึ่งในทีมงานที่ก่อตั้งโดยสภากาชาดระหว่างประเทศ (International Council of the Red Cross - ICRC) เพื่อพัฒนาถุงใส่ศพที่มีประสิทธิภาพขึ้น

เป้าหมายหลักของถุงบรรจุศพคือ ใช้ในการปกปิด เคลื่อนย้าย และเก็บรักษาร่างผู้เสียชีวิตจากวิกฤตการณ์และภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้กำลังมีความต้องการใช้อย่างมากในภาวะที่โลกกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ถุงใส่ศพที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันก็มีข้อเสียที่สำคัญอยู่

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ถุงบรรจุศพที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบันมีสภาพที่เอื้อให้ศพเกิดกระบวนการเน่าเปื่อยเร็วเกินไป บางครั้งก่อนที่จะสามารถระบุเอกลักษณ์บุคคลได้เสียอีก

"ความท้าทายนี้มุ่งเน้นไปที่การชะลออัตราการเน่าเปื่อยของศพมนุษย์ในพื้นที่ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ และมีศพมากเกินขีดความสามารถในการรองรับของสถานที่เก็บศพ" น.ส.บาธิจากล่าว

Annuka Bathija and Kristy Ann Winter with the body bag they designed

ทีมงานของเธอได้เริ่มภารกิจออกแบบถุงเก็บศพรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติดีขึ้น ในงานชุมนุมทางวิชาการที่จัดขึ้นโดยองค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น (CERN) เมื่อปี 2014

แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญยังไม่ประทับใจกับผลงานขั้นต้นที่มีเวลาในการคิดค้นเพียง 48 ชม.ของพวกเธอ

ดร.มอร์ริส ทิดบอลล์ บินซ์ นักนิติมานุษยวิทยาชั้นนำของโลก ซึ่งเป็นผู้ช่วยก่อตั้งหน่วยนิติวิทยาศาสตร์ของสภากาชาดระหว่างประเทศ และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของหน่วยจนถึงปี 2017 ได้ตรวจสอบถุงใส่ศพต้นแบบ และพบว่ามันยังมีข้อด้อยในการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย

ทีมงานได้เก็บเอาความคิดเห็นดังกล่าวไปใช้ปรับปรุงผลงานการออกแบบชิ้นนี้

บทเรียนจากภาคสนาม

Old and new body bags

ดร.ทิดบอลล์ บินซ์ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานในพื้นที่จริงตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่าถุงบรรจุศพทำอะไรได้บ้าง เขาพบว่ามันมีความสำคัญต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต โดยช่วยยืดระยะเวลาให้พวกเขาสามารถบ่งชี้เอกลักษณ์ และร่ำลาบุคคลอันเป็นที่รักได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตร้อน

ในเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศเฮติเมื่อปี 2010 ดร.ทิดบอลล์ บินซ์ ได้ลงพื้นที่กรุงปอร์โตแปรงซ์ เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่กาชาดในท้องถิ่นจัดการกับศพผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติครั้งนี้

"ผมยังจำได้อย่างชัดเจนถึงกรณีของเด็กชายวัยประมาณ 8-9 ปีคนหนึ่งที่ศพของเขาถูกนำไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง"

ทีมงานของ ดร.ทิดบอลล์ บินซ์ ได้ตรวจสอบร่างของเด็กชาย ก่อนที่จะนำร่างของเขาใส่ไว้ถุงทางการแพทย์

ภัยพิบัติในครั้งนั้นทำให้เฮติได้ความเสียหายอย่างหนัก และมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ซึ่งศพของผู้ประสบภัยเหล่านี้ได้ถูกเก็บกู้แล้วนำไปกองรวมกันไว้ที่ลานจอดรถของโรงพยาบาลดังกล่าว

"ผมรู้สึกสิ้นหวังกับความคิดที่ว่าร่างของเด็กชายคนนี้จะแปรสภาพจนจำเค้าเดิมไม่ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว"

Dr Morris Tidball-Binz in a building in ruins after the 2010 Haiti earthquake

"ผมคิดถึงครอบครัวของเขาว่า มันจะยากแค่ไหนที่จะไม่ได้เห็นภาพที่คุ้นเคยของลูกชาย และไม่สามารถยืนยันตัวตนของเขาได้จากการดูใบหน้า" ดร.บินซ์กล่าว

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น พายุไซโคลน น้ำท่วม แผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์สึนามิ มักคร่าชีวิตผู้คนในพื้นที่ประสบภัยไปเป็นจำนวนมาก และเมื่อเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา บางครั้งก็แทบจะเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้วิธีฝังศพหมู่

ที่เป็นเช่นนี้เพราะศพเริ่มเน่าเปื่อยจนไม่เหลือสภาพให้จดจำได้ก่อนที่จะมีการบ่งชี้ว่าศพนั้นคือผู้ใด การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลด้วยสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมเสมอไป เช่นในกรณีของเฮติที่มีศพเน่าเปื่อยของผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวอยู่หลายร้อยร่าง เนื่องจากเป็นกระบวนการตรวจสอบที่ใช้เวลานานและมีราคาแพง

ดร.บินซ์เล่าว่า "อุณหภูมิที่นั่นอยู่ระหว่าง 34 - 40 องศาเซลเซียส ใบหน้าศพเริ่มบวมอย่างรวดเร็วทำให้การบ่งชี้เอกลักษณ์บุคคลจากใบหน้าไม่สามารถทำได้หลังจากเสียชีวิตไปเพียง 24 - 36 ชม."

ดังนั้น ในปฏิบัติการครั้งใหญ่ ถุงบรรจุศพจึงอาจเป็นสิ่งเดียวที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยใช้ในการเก็บรักษา และขนส่งร่างผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ถุงเหล่านี้ไม่สามารถใช้ยับยั้งกระบวนการเน่าสลายของศพได้

"ตามปกติเราจะใช้ตู้หรือห้องเย็นในการเก็บรักษาศพ และในหลายพื้นที่ที่เราไปทำงานไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้จากผลของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น"

Indonesian search and rescue and red cross personnel carry a body bag to ambulance as they recovered for victims and fuselage of the Lion Air flight JT 610 at Tanjung Priok port on November 3, 2018

"และมีบ่อยครั้งที่ถุงใส่ศพจะเกิดการแตก ฉีกขาด มีรูรั่ว และไม่ช่วยเก็บกลิ่น" ดร.บินซ์กล่าว

ดังนั้นเมื่อถุงใส่ศพถูกนำไปไว้ใกล้กับโรงพยาบาล เช่นที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงเฮติ ก็ก่อให้เกิดปัญหาซ้ำเติม

"ผมชินกับกลิ่นนี้ (กลิ่นศพ) แต่คนส่วนใหญ่คิดว่ามันเป็นกลิ่นไม่พึงประสงค์ และในช่วงที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เราไม่อาจปล่อยให้กลิ่นเหล่านี้เข้าไปในโรงพยาบาลได้"

เทคโนโลยีผ้าอ้อมสำเร็จรูปและการเก็บรักษาอาหาร

ประสบการณ์ทำงานที่ยาวนานของ ดร.ทิดบอลล์ บินซ์ แสดงให้เห็นแล้วว่ารูปแบบถุงบรรจุศพที่ใช้กันในปัจจุบันล้าสมัยมาก ดังนั้น น.ส. บาธิจา และทีมงานจึงรับเอาข้อแนะนำของเขาไปพิจารณา แล้วเริ่มหาทางแก้ปัญหาเพื่อจำกัดปริมาณออกซิเจน ความชื้น และความร้อนในถุงใส่ศพรุ่นใหม่ที่อาจช่วยเก็บรักษาศพให้คงสภาพดีได้นานถึง 72 ชม.

ทีมงานจึงพิจารณาทำเป็นถุงสุญญากาศ ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการเก็บรักษาอาหารที่คิดค้นโดย ดร.คาร์ล บุช ในปี 1963 และยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้

ดร.บินซ์ชี้ว่า "เราพบว่าหลักการสุญญากาศอาจช่วยชะลออัตราการเน่าเปื่อยของร่างผู้เสียชีวิตที่เก็บไว้ในถุงบรรจุศพได้"

Activists from "Rise and Resist" and "Indivisible Brooklyn" carry body bags symbolizing the victims who so far have died due to complications of the COVID-19 virus in the US

ดังนั้น ทีมงานจึงเริ่มใช้เครื่องดูดอากาศออกมา หลังจากศพถูกใส่ในถุงบรรจุแล้ว

น.ส.คริสตี แอนน์ วินเทอร์ นักวิทยาศาสตร์อีกคนในทีม อธิบายว่า "หากระดับออกซิเจนลดลง อัตราการเน่าเปื่อยก็จะลดลงตาม และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้"

ถุงบรรจุศพที่พวกเขาคิดค้นขึ้นนี้ยังมีวัสดุดูดซับ แบบเดียวกับผ้าที่ใช้ในการทำผ้าอ้อมสำเร็จรูป ซึ่งจะช่วยดูดซับของเหลวจากศพได้

"ถ้าไม่มีของเหลวที่ศพ เนื้อเยื่อจะแห้งและคงสภาพเดิมเอาไว้ได้ดีขึ้น ส่วนของเหลวจะเร่งการเน่าเปื่อย และทำให้จดจำเอกลักษณ์คนตายได้ยากขึ้น" น.ส.วินเทอร์กล่าว

ส่วนการควบคุมอุณหภูมิภายในถุง ทีมงานได้เพิ่มชั้นอลูมิเนียมฟอล์ยเข้าไปเพื่อสะท้อนแสงและควบคุมความร้อน

ผลการทดสอบ

This photo taken in February 2019 shows Thai forensic police personnel placing the "body parts" of victims in a cadaver bag in a simulated city in ruins at the police headquarters in Chon Buri province

มีการทดสอบประสิทธิภาพของถุงบรรจุศพรุ่นใหม่นี้ที่ประเทศไทยและอังกฤษเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

งานวิจัยที่นำโดยมหาวิทยาลัยเซ็นทรัลแลงคาเชียร์ในอังกฤษ ทำการศึกษาโดยนำหมูที่ตายแล้วไปใส่ไว้ในถุงที่ออกแบบขึ้นใหม่ และถุงรุ่นเก่า รวมทั้งมีการทิ้งศพหมูไว้กลางแจ้ง

น.ส.วินเทอร์เล่าถึงผลการศึกษานี้ว่า "ศพหมูที่อยู่กลางแจ้งเน่าเปื่อยอย่างรวดเร็ว ตามด้วยหมูที่ใส่ไว้ในถุงบรรจุศพรุ่นเก่า ส่วนศพหมูในถุงรุ่นใหม่เกิดกระบวนการเน่าเปื่อยช้ากว่า"

การนำเอาวัสดุสะท้อนแสงมาใช้ร่วมด้วยนั้น ช่วยลดอุณหภูมิในถุงลงได้ราว 10 - 20 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับถุงรุ่นเก่า

ทีมนักวิจัยระบุว่า "การทดสอบเบื้องต้นพบว่าถุงรุ่นใหม่มีกลิ่นศพเล็ดลอดออกมาด้านนอกถุงลดลง"

Body bags with pig carcases being tested in Thailand

จากนั้น โครงการนี้ก็เข้าสู่ขั้นต่อไป นั่นคือการทดสอบกับศพมนุษย์จริง ๆ

แม้ปัจจุบัน น.ส.บาธิจา จะย้ายไปทำโครงการอื่นแล้ว แต่ทีมงานที่เหลือกำลังร่วมงานกับศูนย์นิติมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเทนเนสซี ในสหรัฐฯ ซึ่งทำโครงการ "ฟาร์มศพ" เพื่อศึกษากระบวนการเน่าเปื่อยของศพมนุษย์

ขณะเดียวกัน ICRC ได้รับมอบถุงบรรจุศพต้นแบบ 100 ชิ้นเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานภาคสนาม

A man lying over the new body bag

น.ส.บาธิจาบอกว่า ผลการใช้งานจริงและข้อมูลที่ได้จากมหาวิทยาลัยเทนเนสซีจะถูกนำไปปรับปรุงถุงใส่ศพรุ่นใหม่นี้ให้ดีขึ้น ซึ่งทีมงานหวังว่ามันจะถูกนำไปผลิตเป็นจำนวนมากและมีแพร่หลายขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ใช้งานง่าย

ถุงบรรจุศพรุ่นใหม่นี้มีรูปทรงคล้ายเรือ ต่างจากถุงรุ่นเดิมที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

นอกจากนี้มันยังพับเก็บได้ง่าย อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีน้ำหนักพอ ๆ กับถุงรุ่นเก่า และยังคงต้องใช้คน 2 คนในการเก็บศพใส่ถุง

Officers make a special coffin for victims of the coronavirus COVID-19 in Jakarta, Indonesia

ส่วนวัสดุที่ใช้ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ เพื่อให้สามารถใช้ในการฝังศพแบบชั่วคราวได้

ถุงใส่ศพรุ่นใหม่นี้อาจไม่มีประโยชน์สำหรับศพที่ได้รับความเสียหายจนไม่เหลือสภาพเดิมให้จดจำได้แล้ว เช่น ศพในสงคราม หรือศพที่อยู่ในน้ำมาเป็นเวลานาน เนื่องจากถุงรุ่นนี้มีเป้าหมายสำคัญในการเก็บรักษาสภาพศพ และชะลอการเน่าเปื่อยเพื่อให้ครอบครัวสามารถยืนยันตัวคนตาย และนำศพไปประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและศาสนาได้

"เป้าหมายของเราคือทำให้ศพทุกศพได้กลับคืนสู่ครอบครัว และช่วยให้พวกเขาไม่มีอะไรค้างคาใจกับการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รักอีกต่อไป" น.ส.วินเทอร์กล่าว

Let's block ads! (Why?)




July 23, 2020 at 07:51AM
https://ift.tt/3eRvtPr

เทคโนโลยีผ้าอ้อมสำเร็จรูปและการเก็บอาหารแบบสุญญากาศช่วยพัฒนาถุงใส่ศพแห่งอนาคตได้อย่างไร - บีบีซีไทย

https://ift.tt/379f1ri


Bagikan Berita Ini

1 Response to "เทคโนโลยีผ้าอ้อมสำเร็จรูปและการเก็บอาหารแบบสุญญากาศช่วยพัฒนาถุงใส่ศพแห่งอนาคตได้อย่างไร - บีบีซีไทย"

  1. DEWAPK^^ agen judi terpercaya, ayo segera bergabungan dengan kami
    dicoba keberuntungan kalian bersama kami dengan memenangkan uang jutaan rupiah
    ditunggu apa lagi segera buka link kami ya :) :)

    ReplyDelete

Powered by Blogger.